[สรุป] งาน Lean startup circle หัวข้อ Software developer จะปรับตัวยังไงในยุคนี้

Theerawat Kaewchote
2 min readJan 15, 2017

--

สรุป งาน Lean startup circle เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2016 ที่ผ่านมา

ก่อนอื่นเลย อยากจะบอกว่า บทความนี้เป็นบทความแรกของผม และงานนี้ก็เป็นงานแรกที่ผมได้ไปฟัง speaker เทพๆ หลายท่าน ทำให้รู้สึกว่า

“โลกนี้มันกว้างใหญ่ยิ่งนัก และมีสิ่งที่เรายังไม่รู้อีกมากมาย”

มาเริ่มกันเลยดีกว่าก่อนที่ผมจะพาลงทะเลไปมากกว่านี้ งานนี้มี speaker หลายท่าน เริ่มจากแนะนำทีละท่านเลยแล้วกันนะครับ

Speaker ท่านแรก คุณปิง Startup จาก Skilllane หลายๆคนคงจะรู้จัก Skilllane กันมาบ้างแล้ว Skilllane เป็นคอร์สออนไลน์ ซึ่งแนวคิดของ Skilllane ก็คือเพื่อให้คนที่ไม่ว่าง ไม่มีเวลา อยู่ไกล หรือ หลายๆเหตุผลที่ทำให้มาเรียนคอร์สต่างๆที่อยากเรียนไม่ได้ ได้เรียนหาความรู้เพิ่มเติมจากที่ไหน เวลาใดก็ได้

ท่านที่สอง อาจารย์ ปอม Guru ด้าน Agile ผมว่า หลายๆคนคงเข้าใจกันอยู่แล้วนะครับ เรื่อง Agile คร่าวๆ มันคือรูปแบบในการทำงานเป็นทีม ซึ่งอาจารย์ ได้แซวว่า

“คนในองค์กรใหญ่มักจะคิดว่าเป็นเรื่องของ startup ใช้ในองค์กรเล็กๆ แต่ทางฝั่ง startup ก็คิดว่าไม่จำเป็นต้องใช้มันเป็นเรื่องขององค์กรใหญ่ …”

แล้วสรุปใครมันใช้กันล่ะ !! ซึ่งจริงๆแล้ว ใช้ได้กันหมดครับ รายละเอียดคงต้องไปหาศึกษากันเอาเองนะครับ

ท่านที่สาม คุณปั๊บ เป็นอุปนายก สมาคมโปรแกรมเมอร์ไทย สมาคมนี้ก่อตั้งเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ให้กับโปรแกรมเมอร์ไทย

ท่านที่สี่ อาจารย์ ธีปกร จาก Fiveloop ซึ่ง Fiveloop จะเป็นแนวจัดหา programmer ที่มีคุณภาพ

ท่านสุดท้าย คุณแมน จาก LMS Thailand ( Lean Startup Machine ) ซึ่งเป็นเจ้าของงานนี้ ส่วนความหมายของ Lean Startup นั้นคือการสร้างสตาร์ทอัพโดยให้ความสำคัญกับคุณค่าที่ผู้บริโภคหรือผู้ใช้จะได้รับและมุ่งเน้นการลดขั้นตอนที่ไม่สำคัญหรือสูญเสียทรัพยากรโดยเปล่าประโยชน์ออกไป

รู้จัก speaker กันไปแล้ว มาเข้าเนื้อหาของงานกันเลยดีกว่า

ตามหัวข้องานเลย Software developer จะปรับตัวอย่างไร เพื่อให้เข้ากับยุคปัจจุบัน เรื่องแรกพูดถึง ปัญหาของ software developer มีอยู่หลายแบบด้วยกัน ยกตัวอย่าง

มี developer ที่เก่งมีความสามรถอยู่คนหนึ่งแต่ไม่เคยประสบความสำเร็จเลย สาเหตุที่ไม่ประสบความสำเร็จนี้ มาจาก ตามเทคโนโลยี ไปไม่สุด เช่น ณ ปัจจุบันมีเทคโนโลยีหนึ่งกำลังดัง ก็ใช้ตัวนั้นมาทำโปรเจค แต่ทำไปได้สักระยะ ก็เจอเทคโนโลยีตัวใหม่ จึงเปลี่ยนตาม โดยที่ตัวเก่าก็ยังค้างอยู่ คือตามตลาดมากไป ไม่ได้มีโฟกัสอยู่ที่โปรเจคปัจจุบันมากนัก

นี่จึงเป็นหนึ่งปัญหาของการไม่ประสบความสำเร็จ ของ software developer และอีกหนึ่งปัญหาหลักที่ software developer หลายๆคนมักจะทราบกันดี นั่นคือ software developer มักจะคุยกับคนอื่นไม่รู้เรื่อง (Comunication)

ซึ่งปัญหาด้านการสื่อสาร นำไปถึงปัญหาหลายๆอย่าง เช่น เมื่อคุยกับลูกค้า แล้วความคิดลูกค้ากับเดฟ ไม่ตรงกันมีผลกระทบทำให้เกิดการเปลี่ยน requirement หรือ แก้งานไม่รู้จบ และปัญหานี้เองที่เป็นพระเอกของงานนี้ โดยการคิดแบบ lean มีหลายวิธีด้วยกัน จะยกตัวอย่างบางตัวอย่างให้เห็น เช่น การทำ A B Testing , MVP (Minimum Viable Product) โดยการทำ MVP อาจจะไม่ต้องถึงขั้นลงมือเขียนcode สักบรรทัดเลยก็ได้ ก็สามารถรู้แนวทางของโปรเจคนั้นได้แล้ว ซึ่งวิธีเหล่านี้ ทำให้ไม่เสียเวลา เสียทรัพยากร และเสียเงิน!!

ด้านหลังเป็น Javalin board เครื่องมือช่วยให้คิดแบบลีนๆ

สรุปงานนี้ในความคิดของผมเอง การทำงานโดยใช้เทคนิคแบบ lean เริ่มต้นจากสิ่งเล็กๆ ดูว่ามันจำเป็นจริงๆไหม มันคุ้มไหม ซึ่งผมคิดว่ามันคุ้มมากๆกับการเสียค่าหมึกและกระดาษ ดีกว่าต้องมานั่ง code ไปแล้ว แล้วไม่ตอบโจทย์

สุดท้ายนี้ ผมคิดว่าผมได้ความรู้และแนวคิดจาก speaker เยอะมาก ซึ่งผมอาจจะมาถ่ายทอดได้ไม่หมดและไม่สนุกเท่ากับฟังจาก speaker ตัวเป็นๆ ส่วนใครที่สนใจเกี่ยวกับการคิดแบบ lean ในการทำงานนั้น ลอง search ใน facebook ว่า “Lean Startup Thailand” ได้ครับ

ปล. บทความแรก ผิดพลาดอะไร ติชมได้นะครับ ขอบคุณครับ…❤

--

--